3 Steps ตั้งเป้าหมาย-วางแผนฝึกภาษา ให้เก่งขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ !!

goals

ตั้งใจมากี่ปีแล้ว… ว่าจะต้องเก่งภาษาให้ได้?

อย่าเพิ่งถอดใจค่ะ !! เพราะเรารวมมาให้แล้ว 3 Steps วางแผน-ตั้งเป้าหมาย ฝึกภาษา ปีใหม่นี้ยังไง ไม่ให้ล้มเหลว ! และเรามั่นใจว่าทุกคนได้เอาไปใช้ ฝึกได้ตามนี้ ยังไงภายในปีนี้ เห็นผลทันใจแน่นอนค่ะ !!

1. Set realistic and specific goals

เรามักตั้งเป้าหมายกว้าง ๆ หลวม ๆ ทำให้ไม่กระตุ้นเกิด Actions หรือมันไม่ชัดพอ เช่น

“ฉันจะพูดได้คล่องขึ้นเร็ว ๆ นี้”

“ฉันอยากเขียนเก่งขึ้น”

“อยากฟังฝรั่งรู้เรื่องมากกว่านี้”

แต่ละคนจะมี Fluency goals ไม่เท่ากัน (จากหนังสือ Fluent Forever เขียนโดย Gabriel Wyner)

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องรู้และเข้าใจก่อนแพลนได้ถูกคือ เราต้องการมีความคล่องมากน้อยแค่ไหน เอาไปใช้เรื่องอะไร ทางการหรือชีวิตประจำวันทั่วไป

เช่น

  • คุยกับเจ้านายได้คล่อง
  • ไปต่างประเทศแล้วเอาตัวรอดได้
  • เอาไปสมัครงาน ตอบคำถามสัมภาษณ์ได้อย่างโปร
  • ต้องการนำไปใช้เรียนต่อต่างประเทศได้

เพราะฉะนั้นตั้ง Goals ลองปรับให้

1. Realistic คือเป็นจริงได้ – มี Timeline ที่ชัดเจน

2. Specific ลงลึก เฉพาะเจาะจง ให้เห็นเป็นภาพว่า เราจะทำอะไรได้แบบไหน ใช้กับใคร ใน สถานการณ์แบบไหนยิ่งดีค่ะ  ให้ชัดว่าตกลงเราต้องการอะไร ที่สามารถทำทุกวันได้ ยิ่งชัดเท่าไหร่ เราก็จะพร้อมลงมือมากขึ้นเท่านั้นค่ะ

เมื่อรู้ Goals แล้ว ก็มาประเมินตัวเอง…

ว่าเรามีเวลาแต่ละวันมากน้อยแค่ไหน ให้ลองคิดเผื่อวัน-เวลาที่เราไม่ว่างด้วยนะคะ

เพราะเวลาแพลนเรามักจะ Overestimate คิดว่าเราน่าจะมีเวลาเยอะกว่าความเป็นจริง

และประเมินว่า เรามีพื้นฐานภาษาอังกฤษในปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน

วิธีวัดอาจจะวัดจาก Common European Framework of Reference for Language (CEFR) ที่เป็นมาตรฐานสากล

หรือใครอยากทำแบบตรวจสอบพื้นฐานภาษาแบบง่าย สามารถคลิ้กเข้าไปทำใน Self-assessment form ได้เลยนะคะ

เราเริ่มจากจุดไหน ต้องการไปจุดไหน จะได้คำนวณระยะทางและระยะเวลาได้ถูกค่ะ

แต่ Goals แค่ทำให้เราเห็น Direction ว่าเราไปทางไหน

สิ่งที่จะทำให้เราทำมันได้ สำเร็จจริง ๆ คือ Systems (จากหนังสือ Atomic Habits เขียนโดย James Clear)

“You do not rise to the level of your goals. You fall to the level of your systems.

Your goal is your desired outcome. Your system is the collection of daily habits that will get you there.”

ต่อให้เราตั้งเป้าหมายสูงไว้แค่ไหน เราจะไปถึงมันไม่ได้ ถ้ากระบวนการของเราไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง

เป้าหมาย คือผลลัพธ์ที่คุณต้องการ แต่ระบบหรือกระบวนการคือการสะสมของการกระทำในทุกวันที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นได้

2. Focus on your systems

Systems = ระบบ กระบวนการ สิ่งเล็กๆ น้อย ๆ รอบตัว ที่เราทำสม่ำเสมอ ซ้ำ ๆ ที่จะพาเราไปถึงเป้าหมายนั้น หรือผลลัพธ์ที่เราคาดหวัง

สำหรับแอดมินคือ การมี Monthly actions, Weekly routines, Daily habits เช่น มี Daily Checklist ที่เราอยากทำ เพื่อการฝึกภาษาอังกฤษ

2.1 ตั้ง Tasks รายวัน (Daily to-do list) โดยที่ต้องเข้าใจว่ามันคือ “ทักษะ” ไม่ใช้ “ข้อมูล”

1) Daily to-do list ควรมีทั้ง input & output

เพราะภาษาต้องได้ทั้งฝึกรับสาร และส่งสาร

 Input

การรับข้อมูลเข้ามา ผ่านทาง Listening and Reading ค่ะ ซึ่ง Input มีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น movie, music, variety shows, ted talk, podcast, internet meme, online article….

ให้ลองหาแบบที่เราชอบมากที่สุดดูค่ะ  เลือกที่เราสามารถดูได้เรื่อย ๆ เพลิน ๆ แม้ว่าเราจะไม่เข้าใจทั้งหมดทุกคำก็ตาม เพราะเราจะต้องเพิ่ม input อย่างสม่ำเสมอค่ะ

Output

Output คือการที่ดึงสารที่เราได้ Input เข้าไปในหัว ออกมาใช้สร้างภาษาออกไป ผ่าน Speaking หรือ Writing ตัวอย่างการเอา Input ออกมาใช้เป็น Output เช่น

  • ดูหนังมา >> ให้ลองเอาไปพูดกับเพื่อน
  • อ่านคำคมในหนังสือ >> เอาไป post สเตตัส ทาง Social Media
  • อ่านบทความ >> เขียนสรุป

ให้เลือกรูปแบบที่เราสามารถทำได้เลย โดยไม่ต้องรอให้มีคู่สนทนา หรือต้องรอไปต่างประเทศก่อนถึงจะได้ใช้

2) Daily to-do list ต้อง “เรียบง่าย” “เพลิน” และ“สนุก”

ไม่งั้นเราจะไม่ทำมันได้นานพอ และเราก็จะเซ็งไปเองหลังจากทำได้แค่ 2 หรือ 3 วันเท่านั้น เพราะ To-do list จำเป็นต้องอาศัย consistency (ความสม่ำเสมอ) มากกว่าจำนวนของสิ่งที่จะทำ

แอดมินมีวิธีง่าย ๆ ค่ะ ว่าวิธีนี้ มันเรียบง่ายพอหรือยัง คือใช้ กฏ 98/100 ในการตั้ง To-do list ดูค่ะ

เรามักจะตั้งใจไว้ยิ่งใหญ่ หลายข้อมาก เมื่อเรามีไฟ เช่น ในช่วงต้นปี เราจะตั้งว่า จะฝึกภาษาอังกฤษวันละชั่วโมงบ้าง 2 ชั่วโมงบ้าง

But life always gets in the way (ในแต่ละวันจะมีเรื่องเข้ามาขัดขวางไม่ให้เราทำตามฝันได้อยู่เสมอ)

ทำให้เราไม่สามารถทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ได้ทุกวัน เดี๋ยวป่วย เดี๋ยวงานยุ่ง เดี๋ยวลูกเปิดเทอม เดี๋ยวต้องเดินทาง …เพราะฉะนั้นตั้งแบบมี buffer (กันชน) เผื่อไว้ด้วยจะดีกว่าค่ะ

เลือกสิ่งที่จะทำแบบ minimum (จำนวนน้อยที่สุด) ที่เราจะทำได้แน่นอนในทุกวัน ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

คิดแบบง่าย ๆ คือ ไม่ว่าเราจะป่วย จะเดินทาง ..จะอะไรก็ตาม ใน 100 วัน เรายังคงทำสิ่งนี้ได้ถึง 98 วันอยู่ไหม?

ให้ Focus ที่ “การกระทำเล็ก ๆ” ที่เราสามารถควบคุมได้ ติ๊กว่าได้ทำแล้ว มากกว่า “ผลลัพธ์” เพราะการสร้างทักษะ ต้องใช้เวลา และสิ่งเล็ก ๆ ที่เราทำเนี่ยแหล่ะ ที่จะมีผลยิ่งใหญ่ เมื่อผ่านไป 6 เดือน หรือ 1 ปี ค่ะ 😀

3. Measure the gain, not the gap

(จากหนังสือ The gap not the gain เขียนโดย Dan Sullivan)

ระหว่างที่พัฒนาทักษะ เรียนรู้ ฝึกฝนไป ให้คอยวัดผลตัวเองค่ะ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผ่านการสอบ และดูคะแนนเสมอไป แต่ดูจากว่าเราเก่งว่าเมื่อวาน เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หรือเดือนที่ผ่านมายังไงบ้าง

การวัดว่าเหลืออีกเท่าไหร่ เราถึงจะถึงเป้าหมายก็ดีค่ะ แต่สำหรับแอดมิน ไม่ว่าจะทักษะอะไร สิ่งที่ช่วยทำให้อยากไปต่อ มีกำลังใจ อยากทำมันซ้ำ ๆ บ่อย ๆ คือการวัดตัวเองเทียบกับในอดีต ว่าเราพัฒนามามากน้อยเท่าไหร่แล้ว โดยเฉพาะสำหรับทักษะที่เป็น Life long learning ที่ไม่ได้มีเส้นตาย หรือการสอบที่ชัดเจน

แอดมินคิดว่าการคอยวัดผล วัดการพัฒนาที่ผ่านมาแบบนี้ ก็ช่วยให้เราไปต่อได้ดีเลยค่ะ


All the best & happy learning,

คะน้า 😀

มาเรียนรู้ อัพสกิลภาษาอังกฤษสนุก ๆ กับฝรั่งอั่งม้อได้ที่นี่เลยค่ะ 😀
> คลิกดูคอร์สของฝรั่งอั่งม้อ <

Share the Post: