จุดที่น่ากังวลใจที่สุดในการนำเสนองาน คือ หลังจากที่เรานำเสนอจบ และเข้าสู่ช่วง Q&A นั่นเอง
เป็นช่วงเวลาที่กลัวโดนถามคำถามที่เราไม่รู้คำตอบ
แล้วถ้าเราไม่รู้คำตอบจริง ๆ จะมีทริคอะไรบ้างที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้บ้าง
ฝรั่งอั่งม้อมัดรวม 4 วิธี กับ 20 กว่าประโยคไว้ใช้ตอบคำถามที่ตอบไม่ได้มาให้ในบทความนี้แล้วค่ะ
1. Acknowledge the question (ยอมรับคำถาม)
เราสามารถใช้ประโยนี้ในการดีเลย์ให้เรามีเวลาคิด หรือประมวลผลก่อน
1.1 That’s a good question.
That’s a great question.
That’s an insightful question.
(เป็นคำถามที่ดี/ ชาญฉลาด)
1.2 Thank you for bringing this/ that up.
(ขอบคุณที่พูดเรื่องนี้ หรือขอบคุณที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูด)
1.3 Thank you for the question.
( ขอบคุณสำหรับคำถาม)
Thank you for a very interesting point.
(ขอบคุณสำหรับประเด็นที่น่าสนใจ)
1.4 I appreciate your concern with…
(ฉันซาบซึ้งใจ/ ดีใจที่คุณสนใจเรื่อง…)
2. Admit หรือยอมรับไปเลยว่าเราไม่รู้ แต่…
ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร เพราะจริง ๆ แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง แต่เราจะทำอะไรบางอย่างให้กับคนถาม
โดยการ Acknowledge + Admit + Offer value
เป็นการบอกว่าเราจะไปทำการบ้านเพิ่มให้ และไปหาคำตอบมาให้ หรือไปถามกับคนที่เกี่ยวข้องมาให้นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
2.1 That’s a great question. I’m afraid I don’t have the exact information right now,
but let me find out and get back to you.
(เป็นคำถามที่ดีมากเลย ฉันเกรงว่าจะไม่มีข้อมูลที่ละเอียด และแน่ชัดตอนนี้ แต่ฉันจะไปหาข้อมูล และติดต่อกลับหาคุณ)
2.2 You brought up a very interesting point. As far as I know, what we have done about [the topic] is… But to answer your question more accurately, I will think it over/ find the answer for you.
(คุณพูดถึงประเด็นที่น่าสนใจมาก เท่าที่ฉันรู้ สิ่งที่เราได้ทำไปเกี่ยวกับ…(เรื่องนี้) … คือ …
แต่เพื่อจะตอบคำถามได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ฉันจะไปคิดต่อ หรือหาคำตอบให้คุณ)
2.3 I appreciate your concern with [this topic]. To be perfectly honest,
I don’t have a detailed answer at the moment.
But what I will do is I will find out more and get back to you.
(ฉันดีใจที่คุณให้ความสนใจเรื่อง… ถ้าพูดตรง ๆ เลย ฉันยังไม่มีคำตอบโดยละเอียด ณ ตอนนี้
แต่สิ่งที่ฉันจะทำคือ ฉันจะหาข้อมูลเพิ่ม และติดต่อกลับหาคุณ)
2.4 That’s interesting. I’m afraid I only have half knowledge about it,
but I will be happy to search for more information and get back to you.
(เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลย แต่ฉันเกรงว่าจะมีความรู้ไม่ครบถ้วน หรือมากพอในเรื่องนี้
แต่ฉันยินดีที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม และติดต่อกลับหาคุณ)
3. Pass on บอกว่ามีคนอื่นที่สามารถตอบได้ดีกว่าเรา
3.1 Thank you for the question. I don’t have the exact information now but I can ask John for the details.
(ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ/ ครับ ฉันไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดตอนนี้ แต่ฉันสามารถขอรายละเอียดจากจอห์นได้)
3.2 That’s a great question. I’m afraid that’s not my field/ specialty/ under my supervision,
but I’m sure John will be able to answer you.
(เป็นคำถามที่ดีมากเลย ฉันเกรงว่ามันจะไม่ได้อยู่ในสายงาน/ ความเชี่ยวชาญ / ภายใต้การดูแลของฉัน
แต่ฉันมั่นใจว่าจอห์นสามารถตอบคุณได้)
3.3 Unfortunately, I wasn’t involved in that project so I might not be the best person to answer this,
perhaps John can help you with this.
(น่าเสียดายที่ฉันไม่ได้มีส่วนในโปรเจ็คนี้ ฉันเลยไม่น่าจะเป็นคนที่ตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด
แต่จอห์นน่าจะสามารถช่วยคุณได้ในเรื่องนี้ได้)
4. Ask back ถามกลับ
ในกรณีที่เราไม่เข้าใจคำถาม เราสามารถถามกลับไปด้วยประโยคเหล่านี้ได้ค่ะ
4.1 I’m sorry I couldn’t catch that. Would you mind repeating the question again?
(ขอโทษค่ะ/ ครับ ฉันฟังไม่ทัน คุณช่วยพูดอีกทีได้มั้ยคะ/ ครับ)
4.2 Could you please clarify what you mean by …?
(คุณช่วยอธิบายเพิ่มว่า… หมายความว่าอะไร/ อย่างไร ได้มั้ยคะ/ ครับ?)
4.3 Allow me to repeat your question to make sure I understand everything correctly. You mean …
(ขอให้ฉันทวนคำถามคุณอีกรอบให้มั่นใจว่า ฉันเข้าใจทุกอย่างถูกต้องนะคะ/ ครับ คุณหมายถึง…)
4.4 Let me just check if I understand you correctly, you are asking…
(ฉันขอเช็คว่าฉันเข้าใจคุณถูกมั้ยนะคะ/ ครับ คุณถามว่า…)
และด้วยความเข้าใจปัญหาเหล่านี้ของทุกคน ที่กังวลกับการพรีเซ้นต์
หรือใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานฝรั่งอั่งม้อจึงให้กำเนิด
คอร์ส Speak Brilliantly ภาษาอังกฤษเพื่อการพูดในที่สาธารณะ
และการนำเสนอให้โดดเด่น ดึงดูด และโดนใจ แบบ Global Speaker!