เวลาพูดภาษาอังกฤษ เคยมีอาการ “นึกคำไม่ออก” มั้ยคะ? ถ้าเกิดเรามีอาการแบบนี้ แล้วเป็นเพราะว่าเราไม่เคยรู้จักคำนั้นมาก่อน ไม่เคยได้เรียน ก็ถือว่าเป็นโอกาสดี ที่เราจะได้เรียนรู้คำใหม่ แล้วครั้งหน้าเราก็ได้ใช้
แต่ปัญหาคือ คำนั้น อาจจะเป็นคำที่เราเคยเรียน หรือเคยได้ยินมาแล้ว แต่พอจะมาใช้จริง กลับ “นึกคำไม่ออก”
แอดมินขอเสนอ “วิธีแก้ปัญหา นึกคำไม่ออก ให้หายขาด”
แบ่งเป็น 2 แบบหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ
- Short-term solution แก้ไขปัญหาระยะสั้น ให้สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ไปได้ก่อน เปรียบเสมือนยาแก้ปวด ให้เราหายปวดจากตรงนั้นก่อน
- Long-term solution แก้ปัญหาระยะยาว เพื่อให้หายขาดจากอาการนึกคำไม่ออกซักที เปรียบเสมือนการดูแลรักษาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยอีกต่อไป
มาลงรายละเอียดในแต่ละแบบกันค่ะ
Short-term solution วิธีแก้ไขปัญหาระยะสั้น
Use “Gap Fillers” or “Filler words” ใช้ตัวเติมช่องว่าง
Filler (n.) = ตัวเติม
Gap (n.) = ช่องว่าง
Gap Fillers = ตัวเติมช่องว่าง
ให้เราใช้ Gap Fillers เพื่อคั่นเวลา ให้เราได้มีเวลาได้คิดคำที่จะพูดต่อไป โดยที่เราไม่ได้หาย Blank ไปเลย
ถ้าถามว่า “Blank หายไปเลยซักพักนึงได้ไหม?” คำตอบก็คือ “ได้ค่ะ” แต่เรามักจะอึดอัด เวลาที่เกิด dead air
(ความเงียบ) ขณะสนทนา เราก็จะกังวล กลัว ในการพูด เข้าไปใหญ่
เพราะฉะนั้น เราควรมีคำ/ประโยค ที่มาช่วยคั่นเวลา เพื่อให้เรามีเวลาคิดเพิ่ม และนั้นก็คือ “Gap Fillers” หรือ “Filler words” นั้นเองค่ะ
ตัวอย่างประโยค
“Well … I didn’t think about that before…”
เออเนอะ… ฉันไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้นมาก่อนเลย….
“You know…it’s complicated.”
ก็นะ…มันซับซ้อน ยากที่จะเข้าใจ
“Like… It’s like…”
แบบ… มันแบบ…
“I don’t know… like a dream come true…”
ไม่รู้ดิ …เหมือนฝันที่เป็นจริงเลยอ่ะ
“So basically…what we should do is…”
ก็…โดยทั่วไป…สิ่งที่เราควรทำคือ…
“I mean… I mean if we could we would come up with something”
คือว่า…คือหมายถึงว่าเราถ้าเราสามารถอ่ะน่ะ เราก็จะเริ่มอะไรขึ้นมาได้
คำที่สามารถนำมาใช้เป็น Gap Fillers ได้ มีมากมาย เช่น
- Well
- You know
- like
- I mean
- You see
- Actually
- Basically
- Really
- I don’t know…
ซึ่งสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ เกี่ยวกับ “Gap Fillers” หรือ “Filler words”
ได้ที่คอร์ส Conversation สนทนาลื่นไหล มั่นใจร้อยเปอร์ >> คลิกดูรายละเอียด <<
Give the explanation or definition of the word ให้คำอธิบาย
คือการให้คำอธิบาย โดยไม่พูดคำนั้น เพราะว่า เรานึกคำนั้นไม่ออก
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเรานึกคำว่า “Desk” ที่แปลว่า โต๊ะทำงาน ไม่ออก
ให้ลองอธิบายคำว่า Desk ดูค่ะ
เช่น
“I couldn’t think of the word… It’s like a table. It’s a type of table that you can work at”
นึกคำนั้น ไม่ออกเลย มันเหมือนโต๊ะ เป็นโต๊ะแบบที่เราใช้ทำงานได้
“You usually put a computer or a laptop on this kind of table.”
ที่เรามักจะวางคอม หรือโน้ตบุคไว้บนโต๊ะแบบนี้
ถ้าใช้วิธีนี้ เราก็จะจำคำนี้ได้ดีมากขึ้นด้วยค่ะ
สมมติว่าเรา นึกคำว่า “Disease” ที่แปลว่า โรค ความเจ็บป่วย โรคภัยไข้เจ็บไม่ออก
เราจะอธิบายคำนี้ว่าอย่างไรกันบ้างคะ?
คำอธิบายของแต่ละท่านอาจจะแตกต่างกันออกไป ส่วนตัวอย่างคำอธิบายของแอดมิน เป็นดังนี้ค่ะ
“When people are sick because of infection or bad health condition.”
เวลาที่คนป่วยเพราะว่าการติคเชื้อหรือสภาพร่างกายแย่
ให้เราฝึกที่จะให้คำอธิบาย หรือให้ความหมายของคำ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้จากความหมาย หรือจากบริบทของคำ ถึงสำคัญมากยิ่งกว่าการแปลค่ะ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่นึกคำไม่ออกแบบนี้
เราสามารถใช้คำ หรือประโยคอื่น ๆ มาอธิบายคำที่อยู่ในหัวของเราแทนได้ แม้เราจะจำคำนั้นเป๊ะ ๆ ไม่ได้
Long-term solution วิธีแก้ไขปัญหาระยะยาว
ถ้าอยากแก้ไขอาการนึกคำไม่ออกนี้ ให้หายขาดไปเลย ต้องทำยังไงบ้าง?
ก่อนอื่นเลย ต้องเข้าใจก่อนว่า อาการนี้ เกิดจากการที่ตัวเรา ไม่ค่อยได้ใช้ ไม่ค่อยได้พูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ สมองของเรา ก็เลยไม่ได้จัดข้อมูลไว้ให้เตรียมใช้ทันทีที่เราจะพูดเหมือนเราไม่ค่อยชินกับการดึงคำในหัว ออกมาใช้ซ้ำ ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้อง “สร้าง” และ “เสริม” ทักษะภาษา ให้แข็งแรงขึ้น เก่งขึ้น ในระยะยาวค่ะ
ด้วยวิธี “สังเกต” “เก็บไว้” และ “เอาไปใช้”
สังเกต
เวลาที่เราฝึก Listening หรือ Reading ไม่ว่าจะเป็นการดู Youtube ฟังเพลง ฟัง Podcast หรือดูหนังต่าง ๆ ให้เราสังเกตว่าในสถานการณ์ ในบริบทนั้น ๆ เขาใช้ประโยค ใช้วลี หรือใช้คำอะไรกัน
นี่คือการเรียนผ่าน “Context” หรือ “บริบท” ที่มีเรื่องราว ให้เรามองเห็นปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เวลาใช้คำ
เก็บไว้
ให้เราเลือกจด หรือบันทึกคำศัพท์/วลี ที่น่าจะได้เอาไปใช้ใส่ไว้ใน Note ในโทรศัพท์ หรือสมุดที่เราพกบ่อย ๆ
ขอให้เป็นอะไรที่เราพกติดตัวตลอด และหยิบมาใช้ได้ทันที เพราะถ้าเป็นกระดาษที่เราใช้แค่ครั้งเดียว แล้วทิ้ง
เราอาจจะไม่ได้กลับมาทบทวน และดึงคำเหล่านั้นมาใช้
การจดหรือบันทึก แอดมินแนะนำให้จดไว้เป็น “Phases” (วลี/กลุ่มคำ) หรือจดทั้งประโยคเลยค่ะ เพราะในภาษาอังกฤษจะมีวลีตายตัว หรือ “Fixed Expression” ที่สามารถนำเอามาใช้ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ทำให้เราพูดออกมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องร้อยเรียงคำใหม่ จนครบประโยค หรือจะยกมาทั้งโครงสร้างประโยค แต่ปรับเปลี่ยนคำนิดหน่อย
เช่น เปลี่ยน “He” เป็น “She” หรือ เปลี่ยน “Is” เป็น “Are” ให้ตรงกับบริบทที่เราต้องการใช้ เป็นต้น

การ Copy แล้ว Paste จาก Phases หรือประโยคที่เราจดไว้แบบนี้ จะทำให้เราพูดได้ลื่นไหล และคล่องขึ้นค่ะ
เรียนรู้เรื่อง Fixed Expression เพิ่มเติม ได้ที่คอร์ส Conversation สนทนาลื่นไหล มั่นใจร้อยเปอร์ >> คลิกดูรายละเอียด <<
เอาไปใช้
การที่เราสังเกต และจดคำไว้มากมาย แต่ไม่ได้มีโอกาสได้นำไปใช้เลย ก็ไม่สามารถช่วยให้พูดคล่องขึ้นได้ค่ะ
การที่เราจะสามารถพูดได้ลื่นไหลขึ้น จะต้องเกิดจากการที่เราเคยได้ยิน ได้อ่าน ได้ดูมา เอามาใช้ทันที
เพื่อให้สมองของเราจำคำเหล่านั้นได้ ไม่อย่างนั้น คำก็จะหายไปอยู่อย่างนี้
เมื่อเราสังเกต และจดไว้แล้ว ให้ลองเอาคำหรือวลีเหล่านั้นมาใช้ทันที เช่น
- การ Post Status ใน Social Media
- ใช้เขียนไดอารี่
- จัด VDO พูดกับตัวเอง
จะเป็นรูปแบบไหนก็ได้ ขอให้เป็นการพูด และเขียนด้วยตัวของเราเองค่ะ
All the best & happy learning,
คะน้า 😀
มาเรียนรู้ อัพสกิลภาษาอังกฤษสนุก ๆ กับฝรั่งอั่งม้อได้ที่นี่เลยค่ะ 😀
> คลิกดูคอร์สของฝรั่งอั่งม้อ <